Ikigai Humanica Blog

สร้างแรงผลักดันในการใช้ชีวิตและการทำงานด้วยหลักปรัชญา “อิคิไก”

อิคิไกและชีวิต-การทำงาน

อิคิไก ปรัชญาชีวิตอันโด่งดังจากญี่ปุ่น ที่ช่วยให้ค้นหาความสุข และสมดุลในการใช้ชีวิต ให้กับกลุ่มวัยทำงาน ไม่แปลกที่กลุ่มคนวัยทำงาน จะมีอาการ ‘หมดไฟ’ เนื่องด้วยสาเหตุจากการทำงานหนักและต่อเนื่องกันหลายชั่วโมงต่อวัน

เนื่องด้วยสาเหตุจากการทำงานหนักและต่อเนื่องกันหลายชั่วโมงต่อวัน ทำให้เกิดการตั้งคำถามในการใช้ชีวิตและการทำงานของทุก ๆ คน จึงมีการนำ อิคิไก มาใช้เป็นปรัชญาการทำงาน ช่วยค้นหาคุณค่าในตนเอง ทั้งการใช้ชีวิต การทำทั้งงาน และสิ่งที่ชอบ เพื่อให้สามารถวางเป้าหมายในใช้ชีวิตได้

ความหมายของคำว่า “อิคิไก”

ในภาษาญี่ปุ่น คำว่า อิคิไก แยกออกมาเป็นคำได้โดย อิคิ หมายถึง การมีชีวิต และ ไก แปลว่า คุณค่าทางจิตใจ เมื่อนำมารวมกัน อิคิไก คือ จุดมุ่งหมายของการมีชีวิตอยู่

ถือเป็นปรัชญาที่ส่งเสริม ให้มนุษย์ชื่นชมถึงความงามของสิ่งรอบตัว สร้างความสุขในด้านสุขภาพ และจิตใจ ผ่านการค้นพบตัวตนของตัวเอง พร้อมหลักการตอบคำถามของ 4 วงกลมที่จะช่วยให้ค้นพบในสิ่งที่ชอบ และทำได้ดี

หลักการวงกลม 4 วงของอิคิไก

1. What You Love

วงกลมแรกคือสิ่งที่รักหรือชอบ หรือสิ่งไหนที่ทำแล้วมีความสุข และรู้สึกอยากจะทำสิ่งนั้นต่อไป เมื่อพบในสิ่งที่รักแล้ว ซึ่งความชอบอาจช่วยให้อยากจะพัฒนาศักยภาพ ทักษะในด้านนั้นๆ ในตัวเราให้ดีขึ้น ช่วยให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพได้ เพื่อเป็นหลักในการเลือกงานที่เหมาะสมกับตัวเองได้ และสามารถใช้ทักษะความสามารถได้อย่างเต็มที่

2. What You Are Good At

วงกลมที่สองคือ สิ่งที่สามารถทำได้ดีกว่าสิ่งอื่น เช่นทักษะ ความรู้ ความสามารถในด้านต่าง ๆ ในการทำงาน ความชำนาญเชี่ยวชาญในสิ่งที่ทำ หรือทักษะที่มีเฉพาะตัว ซึ่งอาจไม่ได้ตรงกับหลักสูตรที่เรียนมา แต่เกิดจากการฝึกฝนได้เช่นกัน เรียกได้อีกอย่างว่า Hard Skill

ซึ่งในจุดนี้สามารถใช้เป็นจุดนำเสนอให้กับผู้สัมภาษณ์ในการสมัครงานได้ ทำให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกได้ว่าคุณรู้จักตัวเองอย่างดี

3. What You Can Be Paid For

วงกลมที่สาม เป็นสิ่งที่ทำแล้วสามารถสร้างรายได้ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่นการทำงาน การทำธุรกิจการได้ทำสิ่งที่ชอบ หรือสิ่งที่ถนัด ในส่วนนี้จะช่วยให้สามารถเลือกพิจารณางาน ได้ตรงกับความถนัดหรือความชอบของเราได้ เพื่อทำให้เกิดรายได้ขึ้นนั่นเอง

4. What the World Needs

วงกลมที่สี่ เป็นสิ่งที่ทำแล้วสามารถสร้างประโยชน์ต่อองค์กรที่ทำงาน ต่อสังคมหรือต่อโลก อย่างการใช้ความสามารถ ทักษะที่ตนเองมีสามารถช่วยเหลือองค์กรหรือสังคม

ซึ่งอาจเริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ อย่างการใช้ทักษะที่มีในการทำงานในองค์กร การประกอบอาชีพในช่วงที่สังคมกำลังขาดแคลน ซึ่งจะทำให้การทำงานสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับตนเองได้ เพราะได้ใช้ทักษะความสามารถที่มีสร้างประโยชน์ได้จริง

ทฤษฎีอิคิไกที่เกิดขึ้นจากการทับซ้อนกันของวงกลมทั้ง 4 วง

เมื่อค้นพบความสามารถ ทักษะ การทำสิ่งที่รัก การทำสิ่งที่สามารถสร้างรายได้ในการดำรงชีวิต การทำสิ่งที่สังคมองค์กร หรือโลกต้องการแล้ว นำวงกลมมาซ้อนกันจะทำให้เกิดทฤษฎีอีก 4 ข้อของอิคิไก ที่ถือเป็นสิ่งที่ทำให้มองเห็นได้ชัดว่าอะไรคือแรงขับเคลื่อนในการใช้ชีวิตและการทำงาน และค้นพบความหมายในการใช้ชีวิตมากขึ้น

1. Passion

ในข้อนี้ คือการรวมทั้งสิ่งที่รักและ สิ่งที่ทำได้ดีเข้าด้วยกัน จึงเกิดเป็น Passion หรือแรงผลักดัน เมื่อรู้ว่าตนเองชอบอะไร และสิ่งไหนที่สามารถทำออกมาได้ดี จึงเกิดเป็นแรงผลักดันในการทำงานให้ออกมาสำเร็จตามที่ตั้งใจ

แรงผลักดันหรือแรงจูงใจในการทำงานถือเป็นสิ่งที่ควรถามตัวเองตั้งแต่แรกเพื่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความสุขในการทำงานได้อย่างดี

2. Mission

คือการรวมสิ่งที่รักและสิ่งที่โลกต้องการเข้าด้วยกันเช่น การทำงานที่เรารักและในงานนั้นเป็นที่ต้องการของตลาด หรือสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้ และถ้าหากเป็นงานประจำที่ทำในทุกๆ วัน ยังเป็นประโยชน์และสามารถช่วยเหลือคนอื่นๆ หรือสังคมได้ จะยิ่งทำให้เห็นคุณค่าของงานที่ทำอยู่มากขึ้น

มื่อค้นพบคุณค่าของการทำงานที่เป็นหน้าที่ จะยิ่งทำให้รู้สึกพร้อมทำงานให้กับผู้คน ทำงานให้กับสังคมที่ต้องการการช่วยเหลือได้อย่างดี และยังได้รับความรู้สึกของการเป็นผู้ให้ ได้รับความสุข ความอิ่มเอมใจในสิ่งที่ทำด้วย

3. Vocation

การรวมกันระหว่างสิ่งที่โลกต้องการและสิ่งที่สร้างรายได้หรือได้สิ่งตอบแทน หรือที่เรียกว่าการประกอบอาชีพ คืองานที่ทำเป็นงานที่ตลาดต้องการ เป็นงานที่สามารถสร้างรายได้ที่ต้องการได้

ไม่ว่าจะเป็นงานประจำหรืองานเสริมอื่น ๆ ซึ่งการทำงานที่เป็นทั้งสิ่งที่โลกต้องการและสิ่งที่สร้างรายได้ให้กับตัวเองได้ ถือเป็นการสร้างความภูมิใจให้กับตนเองได้เช่นกัน ทำให้รู้สึกถึงความมีคุณค่าในตัวเองได้

4. Profession

ในข้อนี้คือการนำสิ่งที่เราทำได้ดีและ สิ่งที่ทำแล้วสร้างรายได้ มารวมกันเป็นอาชีพ แล้วสามารถใช้สิ่งนี้มาสร้างรายได้ให้กับตัวเองได้ เช่น การเลือกสมัครงานให้ตรงกับความสามารถที่ทำได้ดีของเรา ทำให้เกิดเป็นอาชีพที่ทำได้ประจำ และเป็นอาชีพที่ชอบในข้อนี้ถือเป็นจุดที่เชื่อมโยงที่จะทำให้เกิดความรู้สึกรักในการประกอบอาชีพได้

การนำแนวคิดอิคิไกเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน

อิคิไกถือเป็นปรัชญาที่ทำให้หลายคนได้ค้นพบคุณค่าของการใช้ชีวิตร่วมกับการทำงานได้อย่างดี ไม่ว่าใครก็สามารถค้นหาอิคิไกของตัวเองได้ ซึ่งเมื่อรู้จักอิคิไกของตัวเองแล้วก็สามารถสร้างแรงผลักดัน ความสุขในการทำงานได้

และยังถือเป็นปรัชญาที่ช่วยสร้างสมดุลในการใช้ชีวิต ทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่ทำนั้นมีคุณค่า มีความหมาย มองเห็นเป้าหมายในการใช้ชีวิตได้ดียิ่งขึ้น และยังเป็นปรัชญาการทำงานที่ช่วยให้เราสามารถวางแผนพัฒนาศักยภาพต่อไปได้อีกในอนาคต

การค้นพบ อิคิไก ของตนเองนั้นถือเป็นการค้นพบคุ้นค่าของการมีชีวิตนั่นเอง ที่เป็นการรวมการใช้ชีวิตและการทำงานเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้รับแรงผลักดันในการทำสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น รวมถึงช่วยสร้างสมดุลในการใช้ชีวิตได้อย่างดี

ในองค์กรต่าง ๆ ที่อาจประสบปัญหากับพนักงานหมดไฟ หรือเกิดความเบื่อหน่ายในการทำงานประจำแบบเดิมซ้ำ ๆ สามารถนำแนวคิดปรัชญาแบบอิคิไก มาลองปรับใช้กับพนักงานในองค์กรได้ หรือในบางองค์ที่มีปัญหาด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ทางฝ่าย HR อาจแก้ปัญหาด้วยการใช้ บริการจากบริษัทให้บริการโซลูชั่นธุรกิจ

ฮิวแมนิก้าผู้ให้บริการด้านทรัพยากรบุคคล (HR) ของประเทศไทย ผู้นำด้านระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร (ERP) ที่ช่วยจัดการปัญหาต่าง ๆ ด้วยทีมงาน ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์นานหลายสิบปี เพื่อให้สามารถวางแผนและสร้างความก้าวหน้าให้กับองค์กรธุรกิจได้อย่างมั่นคง

Scroll to Top