chat
forum
forum
forum
call
Stop Procrastination Humanica Blog

เทคนิคเลิกนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง เปลี่ยนให้คุณเป็นคนใหม่

การชอบผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ยอมลงมือทำงานให้เสร็จ หรือผัดสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำไปเรื่อยๆ ทำให้งานไม่เสร็จตรงตามเวลา แล้วต้องมาเร่งทำงานในเวลากระชั้นชิด ส่งผลให้ผลงานออกมาไม่มีประสิทธิภาพ และเกิดผลเสียตามมาได้ การทำแบบนี้บ่อย ๆ อาจทำให้ติดเป็นนิสัยและกลายเป็นคนไม่มีวินัยในการทำงานได้

ทำไมคนเราถึงชอบ “ผัดวันประกันพรุ่ง”

การผัดวันประกันพรุ่ง เป็นสิ่งที่หลายคนคงเคยทำ โดยการผัดวันทำงานไปเรื่อย ๆ ไม่ยอมทำให้เสร็จจนกว่าจะถึงวันกำหนดส่ง สาเหตุที่ทำให้คนชอบผัดวันประกันพรุ่ง เพราะหลายคนเชื่อว่า การทำงานจะต้องมีอารมณ์ที่ดีหรืออยู่ในช่วงเวลาที่อยากทำงาน

หรือ หากิจกรรมที่สร้างความบันเทิงก่อนที่จะเริ่มทำงาน ทำให้เสียเวลาการทำงานให้กับกิจกรรมส่วนนี้เยอะขึ้น จนเกิดการผัดวันทำงานได้ อีกหนึ่งสาเหตุคือ กลุ่มคนนี้มักจะอ้างว่าตนเองสามารถทำงานได้ดีในสภาวะกดดัน หรือเวลากระชั้นชิด จึงชอบรอให้ใกล้ถึงกับวันกำหนดส่งงานก่อนจึงเริ่มทำ การทำเช่นนี้จนติดเป็นนิสัยจะส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงาน และอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาวได้

ผลกระทบที่อาจเกิดต่อร่างกาย

การผัดวันประกันพรุ่งอาจช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้จริงในระยะแรก แต่ยังไงงานที่ผัดวันไปเรื่อย ๆ ก็ยังคงต้องทำงานที่ผัดไว้ให้เสร็จอยู่ดี

การเร่งทำในเวลากระชั้นชิด ยิ่งทำให้เพิ่มความเครียด ความกดดันในการทำผลงานออกมาให้เสร็จตามเวลา เมื่อผัดวันประกันพรุ่งระยะยาว อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ เกิดความวิตกกังวล ความเครียด จนอาจเกิดปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้

ทำอย่างไรให้เลิกนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเปลี่ยนความคิดในการทำงาน สามารถช่วยปรับนิสัยการผัดวันประกันพรุ่งได้ อาจเริ่มจากการค่อย ๆ ปรับทีละนิด และต้องไม่ฝืนหรือบังคับตัวเองมากเกินไป เพื่อให้มีกำลังใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

1. วางแผนเวลาการทำงานทุกครั้งที่ได้รับมอบหมาย

การวางแผนการทำงานถือเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างมาก ในงานใหญ่ หรืองานที่ต้องใช้เวลาทำนาน การวางแผนแบ่งงานทำด้วยความสม่ำเสมอ จะทำให้งานนั้นสำเร็จไปได้ด้วยดี มีประสิทธิภาพ

ทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ทำให้รู้สึกภาคภูมิใจที่งานนั้นสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และหากวางแผนบ่อย ๆ จนเกิดเป็นนิสัย จะทำให้ไม่ต้องบังคับตัวเองทำงานอีกต่อไป และปรับแก้นิสัยการผัดวันประกันพรุ่งไปได้

2. จัดลำดับความสำคัญของงานในแต่ละวัน

งานนั้นมีหลายประเภท ในหนึ่งวันอาจต้องเจอกับหลายงานให้ต้องจัดการทั้งงานเล็ก งานใหญ่ งานเร่งด่วน บางครั้งเมื่อมีงานเยอะเกินไป อาจจะไม่สามารถโฟกัสกับงานใดงานหนึ่งได้ ทำให้มีโอกาสที่จะผัดวันประกันพรุ่งขึ้นอีกได้ การจัดลำดับความสำคัญในแต่ละงานจะช่วยให้สามารถกำหนดเวลาทำงานแต่ละงานได้ ทำให้ไม่รู้สึกเหนื่อยล้าจนเกินไปได้

3. จำกัดชั่วโมงการทำงานแต่ละชิ้น

หากรู้สึกว่างานแต่ละงานใช้เวลานานเกินไป จนทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า และทำให้แต่ละงานไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร เมื่อมีการวางแผนขั้นตอนการทำงาน จัดลำดับความสำคัญแล้ว อาจเริ่มการจำกัดเวลาทำงานแต่ละชิ้น

เช่น วันนี้จะทำงานที่ 1 เพียง 30 นาทีเท่านั้น งานที่ 2 ใช้เวลา 20 นาที แล้วกลับมาทำต่อในวันพรุ่งนี้ จะทำให้เห็นว่าการทำงานนั้นมีความคืบหน้าจริง ๆ มีกำลังใจในการทำงานมากขึ้น หรืออาจเพิ่มเวลาการทำงานขึ้นเรื่อย ๆ ตามความเหมาะสมเพื่อให้งานนั้นเสร็จสมบูรณ์ได้ตามเวลา

4. เลือกสถานที่ทำงานที่ให้สมาธิได้ดี

ปัจจุบันหลายองค์กรมีการทำงานแบบ Hybrid มากขึ้น อย่างการออกไปทำงานนอกสถานที่ได้ ไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวันได้

การเลือกสถานที่ที่เหมาะสำหรับตัวเองในการทำงาน สามารถช่วยสร้างสมาธิในการทำงานได้อย่างดี ไม่มีสิ่งที่รบกวนการทำงาน ทำให้โฟกัสกับงานได้มากขึ้น

5. จัดการกับอารมณ์และความรู้สึก

การจัดการกับอารมณ์และความรู้สึก ถือเป็นอีกสิ่งที่สำคัญสำหรับการจัดการกับพฤติกรรมการผัดวันประกันพรุ่ง เพราะเมื่อรู้ตัวแล้วว่าตัวเองกำลังรู้สึก หรือมีอารมณ์แบบไหนอยู่ จะทำให้เข้าใจตัวเองมากขึ้น

และจะช่วยให้สามารถจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกได้ดีขึ้น เช่น หากรู้สึกหงุดหงิดหรือรำคาญใจ ก็อาจต้องมองหาคุณค่าหรือข้อดีในการทำงานนั้น ๆ หรือถ้ารู้สึกเบื่อหน่ายกับงาน

อาจตั้งรางวัลว่าถ้าทำงานสำเร็จ ก็จะให้รางวัลตัวเองด้วยการซื้อของที่อยากได้ หรืออาหารที่อยากกินได้ เพื่อให้มีกำลังใจในการทำงานต่อไป

การมีนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง จะทำให้ดูเป็นคนที่ไร้ความรับผิดชอบ ไม่สามารถทำงานให้สำเร็จได้ หรือทำงานเสร็จแล้วแต่งานไม่มีประสิทธิภาพ อาจส่งผลเสียให้กับองค์กรได้

จึงควรต้องหาวิธีแก้ไขโดยเร็ว องค์กรหรือฝ่ายบริหารงานบุคคล ควรให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการทำงานของพนักงานมากขึ้น เพื่อป้องกันพนักงานเกิดปัญหาทางสุขภาพกายและใจ หรือมีนิสัยชอบผัดวันทำงานจนงานไม่มีประสิทธิภาพ จึงควรมีการแก้ไขให้เร็วที่สุด

Scroll to Top