มีลูกจ้างหลายคนที่ไม่กล้าใช้วันลาป่วย เพราะเงื่อนไขการลาขององค์กรที่ยุ่งยากซับซ้อน มีกฎเยอะ และบางที่พนักงานลาป่วย 1 วัน แต่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์เท่านั้น จึงทำให้หลายคนไม่รักษาสิทธิ์ตรงนี้ไป แต่จริง ๆ แล้วคุณรู้หรือไม่ว่า ตามกฎหมายแล้วเราสามารถลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง และบริษัทไม่มีสิทธิ์หักค่าจ้างในวันที่ลาป่วยนั้นด้วย
เพื่อรักษาสิทธิขั้นพื้นฐานที่ลูกจ้างพึงมี เราไปดูกันว่าจริง ๆ แล้วลูกจ้างสามารถลาป่วยได้กี่วัน? กรณีไหนต้องใช้ใบรับรองแพทย์? ลาป่วยแล้วองค์กรสามารถหักเงินได้ไหม? ลาป่วยมากกว่า 3 วันขึ้นไปต้องทำอย่างไรบ้าง? กรณีแบบไหนที่นายจ้างต้องสังเกต? ไปไขข้อสงสัยพร้อมกันได้เลย
ตามกฎหมายแล้วสามารถลาป่วยได้กี่วัน?


ตามกฎหมายแล้วลูกจ้างสามารถลาป่วยได้กี่วัน? ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 32 ประกอบมาตรา 57 กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง ไม่เกิน 30 วันทำงาน/ปี ในกรณีนี้ลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างตามปกติ บริษัทไม่มีสิทธิ์หักค่าจ้างในวันที่ลาป่วยนั้น แต่ถ้าหากลูกจ้างลาป่วยตั้งแต่ 31 วันเป็นต้นไป นายจ้างมีสิทธิเลือกได้ว่าจะจ่ายหรือไม่จ่ายค่าจ้างก็ได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดขององค์กร เพราะตามกฎหมายไม่ได้คุ้มครองกรณีที่ลูกจ้างลาป่วยเกิน 30 วัน/ปี และการลาป่วยเพื่อไปตรวจร่างกาย หรือกรณีรักษาหายแล้วแต่แพทย์มีนัดติดตามอาการ เท่ากับว่าขณะลาไม่ได้ป่วยจริง ลูกจ้างจึงใช้ลาป่วยไม่ได้
ลาป่วยมากกว่า 3 วันขึ้นไปต้องทำอย่างไรบ้าง?
ลาป่วยได้กี่วัน? เกิน 3 วันต้องทำอย่างไรบ้าง? ในกรณีที่ลูกจ้างลาป่วยเกิน 3 วัน เช่น ป่วยติดโควิด ได้รับอุบัติเหตุ หรือมีการผ่าตัดที่ต้องใช้เวลาพักฟื้นที่ลูกจ้างไม่อาจทำงานได้ แนะนำให้ลูกจ้างติดต่อขอใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลนั้น ๆ ไว้เลย เพื่อเอาไปยื่นให้กับบริษัทได้รับรู้ เพราะตามกฎหมายหากลูกจ้างลาป่วยเกิน 3 วัน นายจ้างสามารถขอให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ แต่ถ้าลูกจ้างไม่สามารถแสดงใบรับรองแพทย์ได้ ลูกจ้างจะต้องชี้แจงให้นายจ้างทราบ เพื่อให้เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย
กรณีแบบไหนที่นายจ้างต้องสังเกต?


หากนายจ้างสงสัยว่าลูกจ้างป่วยเท็จ แต่แจ้งลาป่วย นายจ้างมีสิทธิ์ตรวจสอบหาข้อเท็จจริงได้ เช่น
1. สังเกตเห็นว่าลูกจ้างลาป่วยติดกับช่วงหยุดยาว
พนักงานบางคนมีการแจ้งลาป่วยติดกับช่วงหยุดยาว ยกตัวอย่างเช่น วันหยุดตรงกับวันที่ 1 ก.ย. พนักงานขอใช้สิทธิ์ลาป่วยต่อในวันที่ 2–3 ก.ย. ในกรณีนี้พนักงานสามารถขอลาป่วยได้โดยไม่ต้องยื่นใบรับรองแพทย์ และลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างตามปกติ
แต่ถ้าหากลูกจ้างใช้สิทธิ์ลาป่วยวันที่ 30-31 ส.ค. จากนั้นไปเจอวันหยุดยาวในวันที่ 1 ก.ย. และขอยื่นลาป่วยต่อในวันที่ 2-3 ก.ย. แม้จะเป็นการลาป่วยครั้งละ 2 วัน โดยมีวันหยุดคั่นกลาง แต่ตามกฎหมายจะถือว่าเป็นการลาป่วยต่อเนื่อง ในกรณีนี้นายจ้างมีสิทธิ์สงสัยว่าลูกจ้างแจ้งลาป่วยเท็จได้ ซึ่งสามารถสอบสวนหาข้อเท็จจริงโดยขอดูใบรับรองแพทย์จากลูกจ้างได้
2. สังเกตเห็นว่าลูกจ้างหยุดงานแบบไม่รับค่าจ้าง
ลูกจ้างแจ้งหยุดงานแบบไม่รับค่าจ้าง ไม่ว่าจะจากกรณีที่ป่วยเป็นโรคที่ต้องใช้ระยะรักษานานจนทำให้ลูกจ้างไม่สามารถทำงานต่อเนื่องได้ แทนที่จะแก้ปัญหาด้วยการลาออก ลูกจ้างและนายจ้างสามารถทำข้อตกลงการหยุดงานแบบไม่รับค่าจ้างแทนได้
ยกตัวอย่าง ลาเพื่อพักรักษาตัวติดต่อกันเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน หรือจะเป็นการลาครั้งละไม่กี่วัน แต่เกิดขึ้นบ่อย การทำข้อตกลงในลักษณะนี้ จะทำให้ระหว่างลูกจ้างและนายจ้างมีความเข้าใจตรงกัน และนายจ้างสามารถวางแผนการทำงานให้ไม่สะดุดแม้ลูกจ้างที่รับผิดชอบหน้าที่นั้นต้องหยุดลาป่วยด้วย
หากไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับการลาป่วยควรทำอย่างไร?


ลาป่วยได้กี่วัน? ตามกฎหมายแล้วลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง ไม่เกิน 30 วันทำงาน/ปี และลูกจ้างสามารถลาป่วยติดต่อกันไม่เกิน 3 วันได้ แต่นายจ้างสามารถขอให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์
แต่ถ้าหากลูกจ้างรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับการลาป่วย เช่น ลาป่วย 1-2 วัน แต่นายจ้างขอใบรับรองแพทย์, ไม่อนุญาตให้ลูกจ้างลาป่วยติดกัน 2 วัน หรือนายจ้างหักวันลาพักร้อน หรือหักเงินค่าจ้าง เมื่อลูกจ้างใช้สิทธิ์ลาป่วย ในกรณีดังกล่าวลูกจ้างสามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ได้ที่ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือหากต้องการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านการติดต่อได้หลายช่องทาง ดังนี้
- สายด่วนโทร 1506 กด 3
- สายด่วน 1546
สรุปบทความ
การลาป่วยเป็นสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่ลูกจ้างควรได้รับ แต่จะลาป่วยได้กี่วันก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละองค์กร แต่ตามกฎหมายแล้วลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วยได้ไม่เกิน 30 วันทำงาน/ปี ในกรณีนี้ลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างตามปกติ บริษัทไม่มีสิทธิ์หักค่าจ้างในวันที่ลาป่วย ดังนั้นใครรู้ตัวว่าร่างกายกำลังอ่อนแอ มีไข้ เป็นหวัด ก็อย่าลืมใช้วันลาเพื่อรักษาสิทธิ์ของตัวเองเพื่อช่วยให้ขั้นตอนการลางานเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ที่ Humanica เรามีระบบ HR ที่ช่วยจัดการภาระงานของทีมงาน HR ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งแง่ของความซับซ้อน ความแม่นยำ และความรวดเร็วในการจัดเก็บข้อมูล โดย HRM System นั้นสามารถจัดการภาระงานจาก HR Management ได้ทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นการจัดหาบุคลากร, การบริหารสวัสดิการและค่าตอบแทน, การวางแผนกำลังคน เป็นต้น