อาการ “เหนื่อยล้า” เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่เมื่อมีอาการเหนื่อยสะสมมากๆ จากการทำงาน รวมกับความเครียด สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดโรค TATT หรือ Tired All The Time ได้แบบไม่รู้ตัว ในบทความนี้ก็จะมีการอธิบายว่าโรคที่ว่านี้เกิดขึ้นจากสาเหตุใดได้บ้าง มีวิธีป้องกันอย่างไร และองค์กร หรือฝ่ายบริหารงานบุคคลควรทำอย่างไรบ้างกับพนักงานในองค์กร
โรค TATT หรือ Tired All The Time คืออะไร
TATT หรือ Tired All The Time คืออาการที่เหนื่อยล้าสะสม เหนื่อยตลอดเวลา แม้จะอยู่เฉย ๆ มักเกิดขึ้นเมื่อมีความเครียด จะทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว ให้พร้อมรับมือกับปัญหา หรือความกดดันที่ต้องเจอ
และเมื่อมีความรู้สึกเครียดสะสมเป็นเวลานาน จึงมีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดผลเสียต่อสมองและร่างกายในระยะยาวตามไปด้วย
สาเหตุที่ให้เกิดโรค TATT ขึ้นในมนุษย์
จัดการตัวเองอย่างไรเพื่อป้องกันอาการเหนื่อยสะสม
เมื่อรู้สึกว่าตนเองมีอาการเหนื่อยตลอดเวลา รู้สึกอยากนอน ไม่อยากทำอะไร ไม่มีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ปวดหัวบ่อย ๆ มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ไม่คงที่ นั่นอาจเป็นสัญญาณของ TATT ได้ จึงควรรู้วิธีจัดการกับ อาการเหล่านี้เพื่อป้องกันอาการเหนื่อยตลอดเวลา เนื่องจากอาจส่งผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันได้
1.จัดสรรเรื่องอาหารการกิน
ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในแต่ละมื้ออาหาร รับประทานอาหารที่ปรุงรสน้อย มีประโยชน์และรับประทานในปริมาณที่พอดี และไม่ควรกินอาหารมื้อดึกหรือกินมื้อหนักก่อนเข้านอน เพราะจะทำให้กระเพาะและอวัยวะภายในทำงานหนัก จนอาจทำให้ไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่
2.หมั่นดื่มน้ำบ่อยๆ
การที่ร่างกายขาดน้ำ ก็อาจจะทำให้ระบบภายในร่างกายทำงานหนักขึ้น จึงควรเพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกายอยู่เสมอ นอกจากนี้การดื่มน้ำยังทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าได้ เพราะฉะนั้นควรจิบน้ำบ่อยๆในระหว่างทำงานเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
3.จัดสรรเวลาออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเบา ๆ สามารถช่วยจัดการกับความเครียดได้ เพราะช่วยเพิ่มสารเอ็นดอร์ฟิน ที่จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้น รู้สึกผ่อนคลาย และมีพลังในการทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ และยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
4.ทำสมาธิ ฝึกจิตใจให้สงบ
การทำสมาธิ ทำจิตใจให้สงบจะช่วยให้สมองได้หยุดคิด หยุดพัก มีสมาธิจดจ่อในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ช่วยลดความเครียดและความกดดัน และมีเวลาทบทวนสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถี่ถ้วน เมื่อมีสมาธิที่ดีจะช่วยให้การทำงาน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
องค์กรหรือ HR สามารถรับมือกับอาการเหนื่อยสะสมได้อย่างไรบ้าง
การมีอาการเหนื่อยสะสม หรือ TATT สามารถเกิดขึ้นได้กับพนักงานทุกองค์กร และส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิต และการทำงานอย่างมาก ทางองค์กร หรือฝ่าย HR สามารถช่วยป้องกันได้ด้วยการปรับเวลาการทำงาน เช่น มีการทำงานแบบ Hybrid ที่ให้พนักงานได้ทำงานที่บ้าน หรือที่ไหนก็ได้ ถือเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ และช่วยให้พนักงานเกิดความผ่อนคลายในการทำงานมากขึ้น
รวมถึงการสร้างกิจกรรมในองค์กร เช่น การออกกำลังกายร่วมกัน ก็ช่วยสร้างความสดชื่น และคลายเครียดจากการทำงานได้ และควรมีการจัดหานักจิตบำบัด มาช่วยดูแล รักษาสภาพจิตใจ สำหรับพนักงานที่อาจอยู่ในภาวะเหนื่อยตลอดเวลา เพื่อให้คำแนะนำในการรักษาอย่างถูกวิธี
การทำงานด้วย อาการเหนื่อยสะสม ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานอย่างมาก องค์กรหรือ ฝ่าย HR สามารถช่วยป้องกันการเกิดปัญหาเหล่านี้ได้ ตามแนวทางที่กล่าวไปแล้วด้านบน ซึ่งองค์กรไม่ควรมองข้ามปัญหาเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพร่างกายหรือจิตใจ